วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ติดตั้ง Raspbian ด้วย Mac OS

ต้นเดือนได้ของเล่นมาใหม่เป็น Raspberry Pi 3 เลยมาบันทึกวิธีติดตั้งด้วย Mac OS เอาไว้ซักหน่อย

โพสท์นี้เขียนหลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย แล้วอยากทดสอบเขียนบล็อกบนเจ้า Raspberry Pi ซะหน่อย โดยรูปในส่วนของ Mac OS ทำการส่งเข้ามาลงไว้บน Raspberry Pi ด้วย scp

บน Mac OS

Download Raspbian Images แบบ ZIP file จาก https://www.raspberrypi.org/downloads/raspbian/ ผมเลือกตัว Images with PIXEL desktop หลังจาก Download เสร็จแล้วก็แตกไฟล์ images ออกมา ตอนแตกไฟล์แนะนำให้ใช้พวกโปรแกรมเช่น The Unarchiver เป็นตัวแตกไฟล์ จะได้ไฟล์ .img 

ต่อมาเป็นขั้นตอนการเขียน Images ลง Micro SD Card

ทำการ format Micro SD Card โดยเลือก Format: MS-DOS (FAT), Scheme: Master Boot Record


เสร็จจาก Format แล้วลองตรวจสอบดูว่าตัว Micro SD Card ชื่อ Disk อะไร



หลังจากนั้นให้ทำการ unmount partition disk2s1 (เลือกที่ชื่อ Micro SD Card ในขั้นตอนนี้ถ้าชื่อไม่ขึ้นให้ Eject ตัว Card ออกไปก่อนแล้วเสียบเข้าไปใหม่)


เสร็จแล้วเปิด Terminal ขึ้นมาพิมพ์ command line

$ sudo dd bs=1m if=path_of_your_image.img of=/dev/rdiskn
ตรง /dev/rdiskn ให้แทน n ด้วยเลข Disk ที่เราได้มาก่อนหน้านี้ ในรูปคือ disk2 หลังจากใส่ password กด enter แล้วก็รอ....เสร็จ


ref: https://www.raspberrypi.org/documentation/installation/installing-images/mac.md

บน Raspbian

เชื่อมต่อ internet ให้เรียบร้อย (จะ Lan หรือ Wifi ก็แล้วแต่) แล้วจัดการ update OS 
  • sudo apt-get update
  • sudo apt-get upgrade
ต่อมา Enable SSH และ VNC โดยเข้าไปที่เมนู Raspberry Pi Configuration


บนเครื่อง Mac ให้ Download และติดตั้งโปรแกรม VNC Viewer จาก https://www.realvnc.com/raspberrypi/
เอาไว้สำหรับ remote desktop ส่วน SSH ก็ทำผ่าน command ได้แล้ว

การส่งไฟล์ไปมาระหว่าง Mac กับ Raspberry Pi ใช้ scp ไปก่อน

ต่อไป ไปที่ tab Localisation ทำการ set ค่าต่างๆ ดังนี้
  • Locale:
    • Language: th(Thai) (จริงๆ เลือกภาษาได้ตามถนัด)
    • Country: TH(Thailand)
    • Character Set: UTF-8
  • Timezone:
    • Area: Asia
    • Location: Bangkok
  • Keybaord: English (US, with euro on 5) เพื่อให้ไม่มีปัญหากับปุ่ม # \ | (แต่ยังไงก็ขึ้นอยู่กับ keyboard layout ที่เราใช้กันด้วยนะครับ)
  • WiFi Country: TH (Thailand)
ส่วนการพิมพ์ภาษาไทย ให้เปิด Terminal แล้วใช้คำสั่ง
  • sudo raspi-config
    • เลือกหัวข้อ Internationalisation Options >> Change Keyboard Layout
    • แล้วค่อยเลือก keyboard layout ไทย หลังจากนั้นก็ option อื่นๆ ตามใจ
  • *** ต้อง set ใหม่ทุกครั้งที่เปิดตัว Raspberry Pi ใหม่ ยังหาวิธีทำให้พิมพ์ได้แบบถาวรไม่เจอ T^T
ต่อมาก็ลงโปรแกรมเสริมอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น
  • sudo apt-get install vim  # ขาดเธอฉันตายดีกว่า
  • sudo apt-get install gimp  # เอาไว้แต่งรูป
  • sudo apt-get install scrot # เอาไว้ capture screen (ต้องทำผ่าน command line)
    • วิธีใช้
      • $ scrot  #capture ทั้งหน้าจอ ภาพจะ save ที่ home เป็น default
      • $ scrot -d 10 image.png  #รอ 10วิ แล้ว save ไฟล์ชื่อ image.png เอาไว้ซ่อนหน้าจอ Terminal ก่อน capture
      • $ scrot -cd 10 image.png #มีการนับถอยหลังให้ด้วย
      • $ scrot -s  #เลือกหน้าต่างที่จะ Capture 

การ Backup SD Card

หลังจากลงนู่นลงนี้ไปแล้วก็ต้องทำการ Backup SD Card เอาไว้ ครั้งหลังมาจะได้ไม่ต้องมานั้ง setup ใหม่อีก ก็ใช้ command dd เหมือนตอนเขียน img เลยแค่สลับ input , output เช่น จากด้านบน sd card เราอยู่ที่ disk2 คำสั่ง Backup บน Mac OS ก็ต้องเป็น
sudo dd bs=1m if=/dev/rdisk2 of=backup-file-name.img

ประสพการณ์การใช้งาน Raspberry Pi 3 Raspbian with PIXEL เป็น Desktop PC

จากการที่ทดลองใช้แทนคอมพิวเตอร์เครื่องหลักมาได้ 2 วันบนสภาพแวดล้อม PIXEL ถือว่า Raspberry Pi 3 สามารถทำงานทดแทนได้ดีในระดับใช้งานธรรมดาๆ เท่านั้น เช่น งานเอกสาร เล่นเน็ต เขียน Code แต่ถ้าทางด้านความบันเทิงอื่นๆ ยังคิดว่าไปไม่รอด  เช่น 
  • เรื่องเสียง ถ้าต่อผ่าน HDMI ออกลำโพงทีวี คุณภาพเสียงออกมาชัดแจ่มไม่มีปัญหาเลยครับ แต่ถ้าต่อลำโลงหรือหูฟังตรงๆ เสียงที่ออกมาจากช่อง 3.5mm audio jack คุณภาพเสียงต่ำมากๆ เอาแค่พอฟังได้ แต่ฟังให้เพราะ ไปหาวิธีอื่นฟังเอาดีกว่า อาจต้องหา DAC มาต่อเพิ่ม
  • การเล่นไฟล์ Video เรียกว่า มันไม่ใช่งานของมันเลยดีกว่าครับ แต่เห็นมีคนเอา Raspberry Pi ไปทำเป็น Media Center กันได้ อันนี้เดี๋ยวถ้าว่างจะลองไปศึกษาดูว่าเค้าทำกันยังไง
  • การเปิด youtube จะเจอกระตุกบ้างที่ความละเอียดเกิน 480p (อันนี้เชื่อมต่อผ่าน WiFi นะครับยังไม่ได้ลองต่อสาย LAN ตรงๆ จากตัว Router)
แต่ก็ว่าไม่ได้นะครับ เพราะ เจ้าตัว Raspberry Pi มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์เหล่านั้นซะหน่อย

สวัสดีครับ :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น