วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Homebrew, Package Manager เล็ก ง่าย เบา สำหรับ OS X


Homebrew คือ?

Package Manager สำหรับ เหล่าชนผู้ใช้ Mac OS X นั้นเอง

แล้วอะไรคือ Package Manager ละ?

มันก็คือ เครื่องมือที่ช่วยลดความยากลำบากในกระบวนการติดตั้งซอฟแวร์ให้กับเรา ควบรวมตั้งแต่กระบวนการค้นหา Package ที่ต้องการ การดาวน์โหลด (Download) การติดตั้ง (installation) การตั้งค้าเริ่มต้น (Config) การอัพเกรท (Upgrade) ไปจนถึงกระบวนการถอดถอนออกจากระบบ (Remove) กันเลยทีเดียว

ย้อนความกันนิดนึง

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมให้ความสนใจกับ CLI (Command-Line Interface) บน OS X เป็นพิเศษ ซึ่งเป็นความสนใจส่วนตัว จนเลยเถิดไปลองเล่น Linux เพื่อเปรียบเทียบ
สิ่งที่ประทับใจในฝั่ง Linux นอกจากคำสั่ง หรือ Library ต่างๆ ที่ให้มาแต่ต้นอย่างจุใจแล้ว อีกความประทับใจหนึ่งก็คือ ตัว Package Manager ของแต่ละ Distro ไม่ว่าจะเป็น apt-get ของ Ubuntu , rpm ของ RedHat หรือ yum ของ CentOS ล้วนช่วยให้สิ่งที่ยากลำบากสำหรับมือใหม่ Linux แบบผมทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น
หันมาทางฝั่ง Mac OS X แม้ว่า Command-line tool ที่มีมาตั้งแต่ต้นจะมากมายจนใช้ไม่หมดแล้วก็ตาม แต่… บางคำสั่งที่เราต้องการกลับไม่มี เช่น tree เป็นคำสั่งที่ผมชอบมาก บน mac ต้อง ls -R เอา ซึ่งดูยากลำบากเหลือเกิน
หลังจากค้นหาอยู่พักใหญ่ก็พบว่าฝั่ง Mac มี Package Manager ที่นิยมอยู่สองเจ้า นั้นคือ MacPorts และ  Homebrew และหลังจากลองหาข้อมูลเปรียบเทียบกันแล้วก็พบว่าแต่ละค่ายก็มี Fanboy ที่เป็น Blogger ออกมาเขียน Blog เปรียบเทียบกันอยู่พอสมควร แต่ดูเหมือนพวก Homebrew จะเยอะกว่าอยู่มากพอสมควรเช่นกัน อ่านแล้วเคลิ้ม เลยตกลงปลงใจจะเป็นชนหมู่มากกับเขาซะเลย

เตรียมตัวติดตั้ง Homebrew

ก่อนการติดตั้ง Homebrew เครื่องของเราจะต้องต่อ internet อยู่และลง Command Line Tools for Xcode หรือ Xcode ก่อนนะครับ (ลงทะเบียนและดาวน์โหลดฟรี ไม่ต้องกลัวเสียตังค์ครับ) ซึ่งการติดตั้งไม่ขอพูดถึง หรือ เดี๋ยวตอน install Homebrew มันจะเด้งมาให้เราลงเองอัตโนมัติอีกทีครับ ^^”

ติดตั้ง Homebrew และใช้งานกัน

หลังจากเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็ถึงเวลาติดตั้งเจ้า Homebrew กันซักที เริ่มต้นมาก็เปิด Terminal แล้ว copy คำสั่งด้านล่างไปวางแล้วลั้นปุ่ม Enter เป็นอันอันเสร็จขึ้นตอนแรกแล้วครับ
หลังจากใส่ password ของเรา (password เดียวกับตอน login หรือ ตอนจะ install app ลงเครื่องนั้นแหละครับ) แล้วบางท่านอาจจะเห็นหน้าต่างนี้เด้งขึ้นมา ก็ไม่ต้องขัดขืนกด “Install” ไปเบาๆ
ขั้นตอนต่อไปคือการ รอ… รอจนกระทั้ง install Command-line-tools เสร็จ (อันนี้ใช้เวลาน้อยหน่อย) แต่ถ้าใครกดเลือก Get Xcode ก็จะนานหน่อยไปหาอย่างอื่นทำฆ่าเวลาก่อนได้เลยครับ ^^’ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ install Command-line-tools หรือ Xcode ก็ตามแต่แล้ว กลับมาที่หน้าจอ Terminal ของเรา เคาะ Enter เบาๆ อีกหนึ่งครั้งเพื่อทำการ download และ install Homebrew ครับ ที่เหลือก็รอให้มันทำงานจนเสร็จครับ เสร็จแล้วจะหน้าตาประมาณนี้นะครับ

ไปลองกันเลย

หลังจากผ่านกระบวนการติดตั้งมาแล้วก็มาลองเล่นกันดูครับ ก่อนจะ install tools ที่เราต้องการ ก็ลองพิมพ์
brew help
brew doctor
ซักหน่อยนะครับ อย่างในกรณีเครื่องของผมหลังจาก brew doctor แล้วตัว Homebrew ก็แจ้งกลับมาว่ามี broken symlinks อยู่ให้เอาออกด้วยคำสั่ง
brew prune
ลองค้นหา package ที่ต้องการ และทำการ install
?
1
2
brew search tree
brew install tree
เท่านี้ก็ได้ใช้ command tree สมใจแล้วครับ

4 ความคิดเห็น:

  1. Terminal คือ เปิดตรงไหนคะ เพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กดปุ่ม Control+Command+Space พร้อมกัน (เปิดกล่อง Spotlight Search) แล้วพิมพ์ Terminal ได้เลยครับ
      หรือ
      เปิด Launchpad แล้วเข้าไปที่ Other ครับผม ^^ ไอคอน Terminal จะเป็นสัญลักษณ์ >_

      ปล. แนะนำลองไปอ่านหนังสือที่ผมเขียนเอาไว้ด้วยก็ดีครับ (ดีไม่ดีไงแจ้งด้วยนะครับ)

      http://www.rkorakot.me/2014/12/free-ebook-command-line-interface.html

      download ได้ฟรีครับ คลิกตรง Buy Now ด้านข้าง พอตรง slide bar กำหนดราคาก็ให้ลากมาซ้ายสุดจนราคาเป็น 0$ ครับ หรือ จะอ่านบนเว็บก็ได้ แต่แนะนำโหลดเป็น pdf ดีกว่า เผื่อมีอัพเดทมันจะส่งเมลไปแจ้งนะครับ ถ้าเห็นว่าดีแชร์ต่อๆ ไปได้นะครับ

      ขอบคุณครับผม

      ลบ
  2. /usr/bin/ruby -e "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/Homebrew/install/master/install)" คำสั่งปัจจุบัน update ครับ
    เรื่องอื่นๆ ติดตามได้จาก officail site ที่ http://brew.sh/index_th.html

    ตอบลบ